จัดขึ้นใน วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 Onsite กลุ่มเป้าหมายที่เสวนา ได้แก่ ตัวแทนชุมชนและเครือข่าย,ภาคราชการ, ทีมงานใช้รูปแบบการประชุมแบบการเรียนรู้ออนไลน์แบบโต้ตอบกันได้ (online interaction) แบบ Hybrid Learning มีกลุ่มเป้าหมายที่สามารถมาประชุมแบบ Onsite ได้ (ตามจำนวนที่ ศบค.กำหนด) และ มีกลุ่มที่ Online มาจากสถานที่ตั้ง ใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง (เวลา 09.00 – 12.00 น.)
กระบวนการภาพรวม เริ่มต้นมีการบรรยายพิเศษจาก จาก ดร.วิสุทธิ บุญโสภิต อดีตรองผู้อำนวยการ สปสช. เขต 3 ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครสวรรค์ เป็น Session ที่ทำให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้เรียนรู้ การก้าวย่างของ “สุขภาวะ” ผ่านประเด็น “คนบางพลัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะอย่างไร? ในยุค NEXT NORMAL” ดร.วิสุทธิ ได้ให้นิยามของสุขภาพ และ เชื่อมโยงให้เห็นภาพ สุขภาวะ ที่ง่ายและสามารถนำไปสู่รูปธรรมผ่านการปฏิบัติได้ในพื้นที่ โดยมีเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม และ โดยเฉพาะ Post Covid ที่เรากำลังเผชิญ
รศ.ดร. นันทสารี สุขโต หัวหน้าโครงการวิจัย ได้สื่อสารเพื่อให้ทุกคนในเวทีฯ ได้ เห็นภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ และข้อค้นพบที่สำคัญ นำไปสู่ โจทย์สำคัญสำหรับเวทีครั้งนี้คือ “เราจะร่วมมือแบบบูรณาการกันเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะของคนบางพลัดอย่างไร?” ซึ่งเป็นคำตอบที่ทุกคน(คนบางพลัด) ต้องตอบคำถามนี้ด้วยตัวเอง
กิจกรรมเสวนา “การขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน คนบางพลัด”และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่จะนำไปสู่การค้นหาคำตอบจากโจทย์ที่ทางโครงการวิจัยฯ และ คนบางพลัดต้องการ ประกอบไปด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ (เขตบางพลัด) ผู้แทนจากภาคประชาสังคม (ผู้นำชุมชน,ผู้แทนกลุ่มเครือข่าย) และ บุคลากรทางด้านสุขภาพ ทั้งหมดเป็นผู้ร่วมเสวนาที่จะมาร่วมกันเติมเต็มและค้นหาคำตอบ โดยมี ดร. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร เป็นผู้นำการเสวนาใน Session ดังกล่าว
สรุปผลการจัดเวทีกิจกรรมประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางสร้างสรรค์ “ร่วมพลังขับเคลื่อนสุขภาวะเพื่อคนบางพลัด” มีผู้เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าว จำนวน 150 คน (Onsite + Online) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วมเวทีสอดคล้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละ Session มีการนำเสนอ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสนุกสนาน ร่วมกันตอบโจทย์ที่เป็นวัตถุประสงค์หลักในการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี ในช่วงท้ายสุดของงานเสวนาในครั้งนี้ได้ข้อมูล และข้อคิดเห็นที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการดำเนินงานของโครงการ ฯ ต่อไป