Category: ข่าววิชาการและการวิจัย

กิจกรรมเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการแนวคิดสู่การปฏิบัติการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืนชุมชนบางพลัด

กิจกรรมเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการแนวคิดสู่การปฏิบัติการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืนชุมชนบางพลัด

เมื่อวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.30 -16.30 น.
ณ ห้อง 503 อาคารนวมินทร์ 1 วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
 
จากการจัดกิจกรรมเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการแนวคิดสู่การปฏิบัติการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืนชุมชนบางพลัด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากตัวแทนชุมชน 4 ชุมชน ได้แก่
1. ชุมชนวัดคฤหบดี
2. ชุมชนจรัญ ฯ 66/1
3. ชุมชนวัดเทพากร
4. ชุมชนจรัญ ฯ 72
โดยมีประเด็นการเรียนรู้ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับจากวิทยากร คุณวรรธนสกล รักปทุม (ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน จ.ปทุมธานี) ได้แก่
1. แนวคิดการปฏิบัติการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน ชุมชนบางพลัด
2. การวิเคราะห์ต้นทุนชุมชนเพื่อวางแผนการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนบางพลัดซึ่งในช่วงท้ายของเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ มีการทำกิจกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งได้ร่วมกันระดมความคิดเพื่อเริ่มต้นชุมชนจัดการท่องเที่ยวโดย ดร.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร (ที่ปรึกษาโครงการ)
 
ทั้งนี้ตัวแทนชุมชนได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานจากการระดมความคิด ภายในกลุ่มตัวแทนชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดการจัดการท่องเที่ยว รวมถึงวิเคราะห์ต้นทุนเบื้องต้นเพื่อวางแผนการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าวต่อไปในอนาคต

กิจกรรมประชุมเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางสร้างสรรค์“ร่วมพลังขับเคลื่อนสุขภาวะเพื่อคนบางพลัด”

กิจกรรมประชุมเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางสร้างสรรค์“ร่วมพลังขับเคลื่อนสุขภาวะเพื่อคนบางพลัด”

          จัดขึ้นใน วันที่ 4 พฤศจิกายน  2564  Onsite กลุ่มเป้าหมายที่เสวนา ได้แก่ ตัวแทนชุมชนและเครือข่าย,ภาคราชการ, ทีมงานใช้รูปแบบการประชุมแบบการเรียนรู้ออนไลน์แบบโต้ตอบกันได้ (online interaction) แบบ Hybrid Learning มีกลุ่มเป้าหมายที่สามารถมาประชุมแบบ Onsite ได้ (ตามจำนวนที่ ศบค.กำหนด) และ มีกลุ่มที่ Online มาจากสถานที่ตั้ง ใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง (เวลา 09.00 – 12.00 น.)

          กระบวนการภาพรวม เริ่มต้นมีการบรรยายพิเศษจาก จาก ดร.วิสุทธิ บุญโสภิต  อดีตรองผู้อำนวยการ สปสช. เขต 3 ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครสวรรค์ เป็น Session ที่ทำให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้เรียนรู้ การก้าวย่างของ “สุขภาวะ” ผ่านประเด็น “คนบางพลัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะอย่างไร? ในยุค NEXT NORMAL” ดร.วิสุทธิ ได้ให้นิยามของสุขภาพ และ เชื่อมโยงให้เห็นภาพ สุขภาวะ ที่ง่ายและสามารถนำไปสู่รูปธรรมผ่านการปฏิบัติได้ในพื้นที่ โดยมีเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม และ โดยเฉพาะ Post Covid ที่เรากำลังเผชิญ

          รศ.ดร. นันทสารี สุขโต  หัวหน้าโครงการวิจัย ได้สื่อสารเพื่อให้ทุกคนในเวทีฯ ได้ เห็นภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ และข้อค้นพบที่สำคัญ นำไปสู่ โจทย์สำคัญสำหรับเวทีครั้งนี้คือ “เราจะร่วมมือแบบบูรณาการกันเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะของคนบางพลัดอย่างไร?” ซึ่งเป็นคำตอบที่ทุกคน(คนบางพลัด) ต้องตอบคำถามนี้ด้วยตัวเอง

          กิจกรรมเสวนา “การขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน คนบางพลัด”และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่จะนำไปสู่การค้นหาคำตอบจากโจทย์ที่ทางโครงการวิจัยฯ และ คนบางพลัดต้องการ ประกอบไปด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ (เขตบางพลัด) ผู้แทนจากภาคประชาสังคม (ผู้นำชุมชน,ผู้แทนกลุ่มเครือข่าย) และ บุคลากรทางด้านสุขภาพ ทั้งหมดเป็นผู้ร่วมเสวนาที่จะมาร่วมกันเติมเต็มและค้นหาคำตอบ โดยมี ดร. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร เป็นผู้นำการเสวนาใน Session ดังกล่าว

          สรุปผลการจัดเวทีกิจกรรมประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางสร้างสรรค์ “ร่วมพลังขับเคลื่อนสุขภาวะเพื่อคนบางพลัด” มีผู้เข้าร่วมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าว จำนวน 150 คน (Onsite + Online) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วมเวทีสอดคล้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละ Session มีการนำเสนอ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสนุกสนาน ร่วมกันตอบโจทย์ที่เป็นวัตถุประสงค์หลักในการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี ในช่วงท้ายสุดของงานเสวนาในครั้งนี้ได้ข้อมูล และข้อคิดเห็นที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการดำเนินงานของโครงการ ฯ ต่อไป

บทเรียนการปรับตัวของ “เมือง” จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

บทเรียนการปรับตัวของ “เมือง” จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

(Urban Resilience for COVID-19 Pandemic Lesson Learn)

ศาสตราจารย์ธเรศ ศรีสถิตย์

ผู้อำนวยการวิทยาลัยพัฒนามหานคร

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือที่เรียกว่า COVID-19 เริ่มระบาดที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนในปลายปี พ.ศ. 2562 และเริ่มระบาดในประเทศไทยในต้นปี พ.ศ. 2563 ต่อมาได้แพร่กระจายออกไปทั่วประเทศในการระบาดรอบที่ 3 ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มจำนวนมากขึ้น การระบาดในครั้งล่าสุดสร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจและสั่นคลอนระบบการสาธารณสุขของประเทศอย่างมากที่ต้องพึ่งพาวัคซีนจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันมาตรการการป้องกันโรคต่างๆ ของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างมาก โดยเฉพาะภาวะการจ้างงาน ทำให้ระบบการซื้อขายในตลาดลดลง ในขณะที่การต่อสู้กับเชื้อไวรัสยังคงต้องต่อสู้กันต่อไปตราบใดที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้

กรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งที่มีการระบาดสูง มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุดในประเทศ ในขณะที่เมืองกำลังตั้งรับกับภัยพิบัติของเมือง (Urban Hazards) โดยเฉพาะการเสริมกำลังด้านการสาธารณสุขของเมือง อย่างไรก็ตาม การปรับตัวให้เมืองมีความยืดหยุ่น (Urban Resilience) เพื่อการรองรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งประกอบประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • ที่พักอาศัย (Housing) “เมือง” ต้องให้ความสนใจในการจัดหาที่พักอาศัยสำหรับกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อย เพราะประชาชนเหล่านี้พักอาศัยกันอย่างหนาแน่นและมีขนาดพื้นที่จำกัด จนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไปอย่างรวดเร็วรวมทั้งการเตรียมที่พักกักตัวสำหรับผู้ติดเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง
  • ลดความหนาแน่นของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ (Reduce Over Crowded) โดยการลดจำนวนประชาชนในพื้นที่ต่างๆ
    ที่มีกิจกรรมร่วมกัน อาทิ ที่ทำงาน ชุมชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา ตลาดสด การใช้บริการระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น
  • ใช้พื้นที่เปิดโล่งให้มากขึ้น (Open Space Utilization) โดยการปรับพื้นที่เปิดโล่งในเมืองเพื่อรองรับการทำกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของผู้คนจำนวนมาก อาทิ การค้าขาย การเดินทาง หรือนันทนาการ เป็นต้น
  • จัดสรรงบประมาณและกองทุน (Urban Financial Fund) ให้มีการจัดเตรียมงบประมาณเงินทุนจำนวนที่เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด และเยียวยาประชาชนหลังได้จากการแพร่ระบาด อาทิ การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา วัคซีน เงินช่วยเหลือประชาชนที่ตกงานหรือขาดรายได้ในช่วงการแพร่ระบาด รวมทั้งเงินทุนช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจที่ขาดสภาพคล่อง
  • แหล่งอาหาร (Food Supported) จัดหาแหล่งอาหารที่มั่นคงในการสนับสนุนให้กับเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดแคลนอาหารของประชาชน
  • จัดหาพื้นที่เพาะปลูกพืชขนาดย่อม (Community Pocket Garden) เพื่อเป็นแหล่งอาหารขั้นต้นสำหรับคนในชุมชน อาทิ พืชผักสวนครัว หรือพืชอาหารอายุสั้น
  • การจัดเตรียมระบบสาธารณูปโภค (Urban Public Utilities) ได้แก่ น้ำสะอาด ไฟฟ้า พลังงาน การจัดการน้ำเสีย และขยะติดเชื้อ ที่มีความยืดหยุ่นในการให้บริการแก่ประชาชน
  • นำเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เข้ามาใช้ในการจัดการติดต่อสื่อสารกำกับติดตาม ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งการใช้ข้อมูลทางสถิติต่างๆ ในการควบคุมโรคที่เกิดจากคลัสเตอร์ต่างๆ ในเขตเมือง
  • การให้ความรู้กับประชาชน (Education) ในการปฏิบัติตนขณะเกิดและหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid – 19

(เรียบเรียงจาก The Future of Asian & Pacific Cities, Transformative Pathways Towards Sustainable Urban Development in the Post COVID-19 ERA, 2020, ESCAP) [02.06.2021]

[รู้จักเมือง] ‘ถอดบทเรียน’ จากชุมชนเมือง สู่ ‘กลไกเชิงนโยบาย’

11 มีนาคม 2564 | โครงการการพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาวะของคนชุมชนเมืองในกรุงเทพมหานครเพื่อความเป็นเมืองสุขภาวะ โดย วิทยาลัยพัฒนามหานคร และ สสส. ได้เริ่มปฏิบัติการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมกับผู้นำชุมชนในพื้นที่เขตบางพลัด ซึ่งใช้กระบวนการ Self-assessment เป็นเครื่องมือในการค้นหาสถานการณ์การจัดการเครือข่ายสุขภาพในกรุงเทพ โดยโจทย์สำคัญ คือ กรุงเทพมหานคร มีลักษณะพื้นที่เฉพาะจึงควรมียุทธศาสตร์ แนวทาง กลไกที่สามารถเชื่อมต่อกับการบริหารงานของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อถอดบทเรียนจากการสร้างความร่วมมือและเตรียมพร้อมต่อยอดพัฒนาเป็น “กลไกเชิงนโยบาย”

โดยคณะผู้วิจัยจากวิทยาลัยพัฒนามหานคร ได้นำนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารจัดการเมือง เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมผู้นำชุมชนระดับเขต เพื่อบูรณาการฝึกปฏิบัติการทำวิจัยพื้นที่ เพื่อต่อยอดสู่การประยุกต์ในการเรียนการสอน [11.03.2021]