การพัฒนาทักษะการสื่อสารสุขภาวะเพื่อสร้าง Health Literacy และ การบริหารจัดการภาวะวิกฤติสำหรับ อปพร.

การพัฒนาทักษะการสื่อสารสุขภาวะเพื่อสร้าง Health Literacy และ การบริหารจัดการภาวะวิกฤติสำหรับ อปพร.

กิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจสุขภาวะในชุมชน
วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ อาคารนวมินทร์ 1 วิทยาลัยพัฒนามหานคร

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือ ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) โดยมีวิทยากรบรรยายทั้งหมด 3 หัวข้อ ได้แก่

1. หัวข้อ การพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะ (รู้เท่าทันสื่อ) วิทยากรบรรยายโดย อาจารย์วีรพงศ์ ทวีศักดิ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ในประเด็นการใช้สติในการพิจารณาสื่อวิดีโอปลอม การโฆษณาชวนเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ Fake News รวมถึงเทคนิคหรือแนวทางในการเสพสื่ออย่างมีสติที่จะต้องอาศัยสโลแกน “ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่” อีกทั้งยังมีประเด็นการส่งต่อข้อมูลที่จะต้องพิจารณาผ่านเครื่องกรอง 3 ชั้น ซึ่งได้แก่ 1. เรื่องจริงหรือไม่ 2. เรื่องดีหรือไม่ดี 3. มีประโยชน์หรือไม่
2. หัวข้อ ความรู้การดูแลสุขภาพในสถานการณ์ปัจจุบัน วิทยากรบรรยายโดย พว.กัญญา เกสรพิกุลผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ในประเด็นการดูแลตนเองในสถานการณ์ COVID-19 การรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองและสังคม การดูแลและทำความเข้าใจผู้ป่วยในกลุ่มโรค NCD (ไม่ติดต่อเรื้อรัง) รวมถึงการฟื้นคืนชีพผู้ป่วยด้วยการ CPR อีกทั้งยังเสริมทักษะการส่งต่อข้อมูลเชิงสุขภาพอย่างง่ายแก่ผู้เข้าอบรม
3. หัวข้อ การใช้เครื่องมือเพื่อการสื่อสารสุขภาพ วิทยากรบรรยายโดย คุณอภิภู ธนการอรนลิน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ในประเด็น การใช้แอพลิเคชันต่าง ๆ ในการสื่อสารด้านสุขภาพ โดยเฉพาะแอพลิเคชัน Line มีการสอนเทคนิคการใช้ Options ต่างๆ เช่น เทคนิคการเก็บไฟล์แบบถาวรโดยไม่หมดอายุ เทคนิคการสร้างกลุ่มไลน์ Open Chat การตั้งชื่อของเพื่อนในไลน์เพื่อให้จดจำได้ง่ายอ รวมถึงการทดลองปฏิบัติกิจกรรมส่งต่อข้อมูลด้านสุขภาวะในกลุ่มไลน์ที่ผู้อบรมเข้าร่วมกลุ่มไลน์

การบริหารจัดการภาวะวิกฤติสำหรับ อปพร.
วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2564 เวลา 08.00-16.00 น.
ณ อาคารนวมินทร์ 1 วิทยาลัยพัฒนามหานคร

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) โดยมีหัวข้อในการบรรยายให้ความรู้ โดยทีมวิทยากร คุณธนภณ จันทร์พุ่ม และคณะ ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
1. หัวข้อ การดับเพลิงขั้นต้น ในกิจกรรมผู้เข้าร่วมได้รับความรู้จากวิทยากรในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ประเภทของเพลิงไหม้ เชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ วิธีและขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ วิธีใช้ถึงดับเพลิง วิธีการดูแลรักษาถังดับเพลิง
2. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกิจกรรมผู้เข้าร่วมได้รับความรู้จากวิทยากรด้านเทคนิค และวิธีการในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ เช่น วิธีการทำ CPR แก่ผู้ประสบเหตุในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณีของผู้หมดสติ ผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน และการช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะอาหารติดคอ การดูแลรักษาบาดแผล การขนย้ายผู้ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น