Month: June 2021

แบบประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ต่อการบริหารจัดการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

แบบประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ต่อการบริหารจัดการหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต


สาขาวิชาการบริหารจัดการเมือง

สาขาวิชาการบริการธุรกิจการบิน

ประกาศเพิ่มเติมรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์เข้าศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

ประกาศเพิ่มเติมรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์เข้าศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เข้าศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เข้าศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

[ประกาศ] รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563

บทเรียนการปรับตัวของ “เมือง” จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

บทเรียนการปรับตัวของ “เมือง” จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

(Urban Resilience for COVID-19 Pandemic Lesson Learn)

ศาสตราจารย์ธเรศ ศรีสถิตย์

ผู้อำนวยการวิทยาลัยพัฒนามหานคร

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือที่เรียกว่า COVID-19 เริ่มระบาดที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีนในปลายปี พ.ศ. 2562 และเริ่มระบาดในประเทศไทยในต้นปี พ.ศ. 2563 ต่อมาได้แพร่กระจายออกไปทั่วประเทศในการระบาดรอบที่ 3 ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มจำนวนมากขึ้น การระบาดในครั้งล่าสุดสร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจและสั่นคลอนระบบการสาธารณสุขของประเทศอย่างมากที่ต้องพึ่งพาวัคซีนจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันมาตรการการป้องกันโรคต่างๆ ของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างมาก โดยเฉพาะภาวะการจ้างงาน ทำให้ระบบการซื้อขายในตลาดลดลง ในขณะที่การต่อสู้กับเชื้อไวรัสยังคงต้องต่อสู้กันต่อไปตราบใดที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้

กรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งที่มีการระบาดสูง มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุดในประเทศ ในขณะที่เมืองกำลังตั้งรับกับภัยพิบัติของเมือง (Urban Hazards) โดยเฉพาะการเสริมกำลังด้านการสาธารณสุขของเมือง อย่างไรก็ตาม การปรับตัวให้เมืองมีความยืดหยุ่น (Urban Resilience) เพื่อการรองรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งประกอบประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • ที่พักอาศัย (Housing) “เมือง” ต้องให้ความสนใจในการจัดหาที่พักอาศัยสำหรับกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อย เพราะประชาชนเหล่านี้พักอาศัยกันอย่างหนาแน่นและมีขนาดพื้นที่จำกัด จนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไปอย่างรวดเร็วรวมทั้งการเตรียมที่พักกักตัวสำหรับผู้ติดเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง
  • ลดความหนาแน่นของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ (Reduce Over Crowded) โดยการลดจำนวนประชาชนในพื้นที่ต่างๆ
    ที่มีกิจกรรมร่วมกัน อาทิ ที่ทำงาน ชุมชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา ตลาดสด การใช้บริการระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น
  • ใช้พื้นที่เปิดโล่งให้มากขึ้น (Open Space Utilization) โดยการปรับพื้นที่เปิดโล่งในเมืองเพื่อรองรับการทำกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของผู้คนจำนวนมาก อาทิ การค้าขาย การเดินทาง หรือนันทนาการ เป็นต้น
  • จัดสรรงบประมาณและกองทุน (Urban Financial Fund) ให้มีการจัดเตรียมงบประมาณเงินทุนจำนวนที่เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด และเยียวยาประชาชนหลังได้จากการแพร่ระบาด อาทิ การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา วัคซีน เงินช่วยเหลือประชาชนที่ตกงานหรือขาดรายได้ในช่วงการแพร่ระบาด รวมทั้งเงินทุนช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจที่ขาดสภาพคล่อง
  • แหล่งอาหาร (Food Supported) จัดหาแหล่งอาหารที่มั่นคงในการสนับสนุนให้กับเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดแคลนอาหารของประชาชน
  • จัดหาพื้นที่เพาะปลูกพืชขนาดย่อม (Community Pocket Garden) เพื่อเป็นแหล่งอาหารขั้นต้นสำหรับคนในชุมชน อาทิ พืชผักสวนครัว หรือพืชอาหารอายุสั้น
  • การจัดเตรียมระบบสาธารณูปโภค (Urban Public Utilities) ได้แก่ น้ำสะอาด ไฟฟ้า พลังงาน การจัดการน้ำเสีย และขยะติดเชื้อ ที่มีความยืดหยุ่นในการให้บริการแก่ประชาชน
  • นำเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เข้ามาใช้ในการจัดการติดต่อสื่อสารกำกับติดตาม ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งการใช้ข้อมูลทางสถิติต่างๆ ในการควบคุมโรคที่เกิดจากคลัสเตอร์ต่างๆ ในเขตเมือง
  • การให้ความรู้กับประชาชน (Education) ในการปฏิบัติตนขณะเกิดและหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid – 19

(เรียบเรียงจาก The Future of Asian & Pacific Cities, Transformative Pathways Towards Sustainable Urban Development in the Post COVID-19 ERA, 2020, ESCAP) [02.06.2021]