Category: ข่าวประชาสัมพันธ์

นำเสนอผลการวิจัย ป.โท 3 หลักสูตร

     วิทยาลัยพัฒนามหานคร จัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานวิจัย โดยมีหลักสูตรปริญญาโท ของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ทั้ง 3 หลักสูตร ได้แก่
     1. วท.ม. การพัฒนาและจัดการเมือง
     2. วท.ม. การป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
     3. พย.ม. การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
     ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้ในวันที่ 10 มิถุนายน 2567 เวลา 12:45 ณ ห้อง AGORA ชั้น 2 อาคารนวมินทร์ 1 วิทยาลัยพัฒนามหานคร และสามารถเข้าจากระบบออนไลน์ Google Meet : https://meet.google.com/bwz-hcpg-xqy

พัฒนาทักษะเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งมอบประสบการณ์ใหม่ให้นักศึกษา

PAUAM x NMU Wisdom Space

     PAUAM x NMU Wisdom Space ผนึกกำลังร่วมสร้าง “PAUAM Wisdom Sandbox” พัฒนาทักษะเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งมอบประสบการณ์ใหม่ให้นักศึกษา
     เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์การเรียนรู้อาคารทิวากรวงศ์ประวัติ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและจัดการเมือง และหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (NMU Wisdom Space) โดยคณาจารย์ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จัดการเรียนรู้ และกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกันทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว
“ความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต” เป็นคุณลักษณะที่นักศึกษา PAUAM ใช้เป็นพื้นฐานก่อนต่อยอดไปสู่หัวใจสำคัญของหลักสูตร คือ “ความรอบรู้เกี่ยวกับมหานครและเมือง” คุณลักษณะในเรื่องนี้แม้จะเป็นเป้าหมายเชิงคุณภาพของทั้งสองฝ่าย แต่การไปสู่เป้าหมายนั้นก็เป็นความท้าทายในการสร้างนิเวศการเรียนรู้ที่ปลอดภัย เป็นมิตร และเอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา จากเจตจำนงนี้เป็นที่มาของการวางแนวทางการทำงานร่วมกันในการพัฒนานักศึกษาให้เป็น “ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต” ผ่านกลไก “PAUAM Wisdom Sandbox”
     โดยตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป หลักสูตร PAUAM จะสร้างกลไกเพื่อเพิ่มทักษะการค้นคว้า การจัดการ และการนำเสนอข้อมูล ทั้งในรายวิชาต่าง ๆ และในกิจกรรมพัฒนานักศึกษา รวมถึงการร่วมสรรหาทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลายและข้ามศาสตร์เพื่อเตรียมให้แก่ผู้เรียน เช่นเดียวกับ NMU Wisdom Space ที่จะพัฒนารูปแบบกิจกรรมแนะนำการใช้ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้และค้นคว้าข้อมูล รวมถึงสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ ๆ ให้เข้าถึงไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้เรียนในหลักสูตรทางสังคมศาสตร์มากขึ้น
     เราทั้งสองฝ่ายมุ่งหวังว่า “PAUAM Wisdom Sandbox” จะเป็นพื้นที่รูปธรรมของการทำงานร่วมกันอย่างคล่องตัว ก้าวข้ามข้อจำกัดและอุปสรรคต่าง ๆ สามารถสร้างความผูกพันระหว่างนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัย และส่งมอบคุณลักษณะที่ยั่งยืนนี้ให้แก่บัณฑิต เพื่อเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ และเป็นนักบริหารและจัดการเมืองอย่างมืออาชีพในระยะยาวสืบไป

สำรวจเมือง เมืองทริป 2024

สำรวจเมือง เมืองทริป 2024

[PAUAM X เมืองลำพูนน่าอยู่ยั่งยืน]
    นักศึกษาสำรวจเมืองลำพูนในด้านการอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์ และการฟื้นฟูอัตลักษณ์ วิถีชีวิต และย่านเมืองเก่า โดยใช้กรอบแนวคิดของ UNESCO มีนางสาวสุทธินี สุริยกุล ณ อยุธยา รองนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน บรรยายถึงสถานการณ์และแนวทางพัฒนาเมืองลำพูนให้ยั่งยืนตามประเด็นยุทธศาสตร์ 6 ด้าน จากนั้นนักศึกษาได้สำรวจพื้นที่ย่านประวัติศาสตร์เทศบาลเมืองลำพูน (27 พ.ค. 2567)
ขอบคุณภาพบางส่วนจาก เทศบาลเมืองลำพูน
[PAUAM X School of International Affairs CMU]
     กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนการสอนด้านการบริหารจัดการเมืองกับคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรุตม์ เจริญศรี รองคณบดี โดยได้บรรยายในหัวข้อ “เมืองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” และนักศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดกิจกรรมกับสโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (28 พ.ค. 2567)
[PAUAM X พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา เชียงใหม่]
     เข้าศึกษาเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งแสดงและอนุรักษ์เรือนล้านนาหลากหลายรูปแบบ รวมถึงเรือนทรงอาณานิคม (คิวรีเปอล์) ที่มีรูปทรงอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตก สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2469 และได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
[PAUAM X สำรวจเมือง X ห้องเรียนเที่ยงคืน]
     สำรวจเมืองเก่าเชียงใหม่โดยใช้แนวคิด “UNESCO Recommendation on the Historic Urban Landscape” และแนวทางการวิเคราะห์กายภาพของเมืองตามแนวคิดของ Kevin Lynch นักศึกษาได้ทำการสำรวจและบันทึกพฤติกรรม การจำแนกประเภท และการวิเคราะห์เชิงภาพเพื่อเข้าใจอัตลักษณ์ของพื้นที่ศึกษา ทั้งหมดนำเสนอในกิจกรรมห้องเรียนเที่ยงคืน (แนวคิดล้านนา)
[PAUAM X พระธาตุลำปางหลวง]
     สำรวจวัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นตัวอย่างการศึกษาด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรมและมรดกทางวัฒนธรรม การบูรณะในปี พ.ศ. 2555 ที่ไม่ได้รักษาฝีมือช่างแบบเดิมไว้ ส่งผลให้การอนุรักษ์ควรเน้นทั้งงานเชิงช่างและรักษาความจริงแท้ (AUTHENTICITY) 

เปิดรับสมัครนักศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาและจัดการมหานครอย่างยั่งยืน

     เปิดรับสมัครนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท) ประจำปีการศึกษา 2567 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) “สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการมหานครอย่างยั่งยืน” (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567) จำนวนรับสมัคร : 30 คน
🔔 อ่านประกาศฉบับเต็ม :
https://shorturl.asia/zOj7i
📋 สมัคร Online ได้แล้วตั้งแต่บัดนี้ – 30 มิ.ย. 67
Link สมัคร : https://forms.gle/57bCgunwSpUobR2J9
💻 รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร
https://shorturl.asia/wQzbm
📞 Tel : 02 164 2636
📨 Email: imd@nmu.ac.th
📨 Email: kritsana.ted@nmu.ac.th
คุณกฤษณะ เทศแจ่ม
(นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ)

ปัจฉิมนิเทศ ปีการศึกษา 2566

เรา คือ พัฒนามหานคร – พัฒนามหานคร คือ เรา

     วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00-15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการ Acropolis ชั้น 2 อาคารนวมินทร์ 1
     วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จัดพิธีประดับเครื่องหมายปีกแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชและมอบกุุญแจเมืองแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรการบริหารและจัดการเมือง Urban Administration and Management ภายในงานปัจฉิมนิเทศนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2566
     • บรรยายพิเศษ หัวข้อ “ความภาคภูมิใจในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช” โดย รองศาสตราจารย์อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
     • บรรยายในหัวข้อ “คุณธรรม จริยธรรมในการทำงาน”
โดย นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
     • ปัจฉิมโอวาท โดย รองศาสตราจารย์วันชัย มีชาติ
ผู้อำนวยการวิทยาลัยพัฒนามหานคร
     • ปัจฉิมโอวาท “Social Responsibility with Empathy”
โดย อาจารย์ ดร.นิสากร นครเก่าประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ
     • ปัจฉิมโอวาท “Humility in Learning”
โดย อาจารย์วรัญญู เสนาสุ ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและจัดการเมือง
     • ปัจฉิมกถา “ขอให้ใช้ชีวิตนอกมหาวิทยาลัยด้วยความกล้าหาญ” โดยคุณวรฉัตร ธำรงวรางกุล Youtuber Chanel: “เฉียง ไปอยู่ไหนมา”
จัดโดย
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต