รป.บ. การบริหารและจัดการเมือง

การบริหารและจัดการเมือง
เรียนอะไร?

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “เมือง” แต่ละคนย่อมให้ความหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งหากเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการออกแบบและวางแผนก็มักจะชวนคิดให้เห็นถึงเมืองที่มีลักษณะทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน คำถามสำคัญในการทำความเข้าใจกับ “เมือง” คือ เมืองจะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผู้คนอย่างไร?

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและจัดการเมือง จึงออกแบบมาเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ของเมืองและมหานครผ่านความเข้าใจที่หลากมิติ โดยอาศัยเครื่องมือและเทคนิควิธีทางการบริหารจัดการเป็นแกนหลัก ควบคู่กับทักษะด้านวิชาชีพ (Practice) ที่หลากหลายทั้งนโยบาย วิศวกรรม บริหารธุรกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม สังคมศาสตร์ กฎหมาย ผังเมือง เป็นต้น โดยตั้งใจให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ส่งเสริมการเรียนรู้แบบสหศาสตร์ที่ต้องบูรณาการความรู้ของหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน

“Gain Hands-on Experience in Urban Management”

  • Premier & Pioneer
    หลักสูตรใหม่และหลักสูตรแรกของประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชและกรุงเทพมหานคร ที่เอาประสบการณ์ของมหานครมาออกแบบหลักสูตรเพื่อจัดการเมืองให้น่าอยู่ ยั่งยืน ตอบสนองภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นการฝึกปฏิบัติการให้เชี่ยวชาญ รอบรู้ และลุ่มลึก
  • Performance & Expert
    มุ่งสร้างบัณฑิตให้เป็นนักบริหารเมืองมืออาชีพ เข้าใจองค์ความรู้จากแนวคิดผสานกับประสบการณ์จริง เน้นทักษะในการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการข้ามศาสตร์ มีระบบสนับสนุนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ครบครันทันสมัย เพิ่มโอกาสที่จะได้ฝึกประสบการณ์จากมหานครและผู้เชี่ยวชาญทุกแขนง เพื่อให้เชี่ยวชาญรอบด้าน เข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม ความซับซ้อนของเมือง เรียนรู้ชีวิต และเห็นคุณค่าของคน
  • People
    เน้นการเรียนการสอนกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ทั้งด้านนโยบาย วิศวกรรม บริหารธุรกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม สังคมศาสตร์ กฎหมาย ผังเมือง และผู้เชี่ยวชาญจากหลากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างลุ่มลึก พร้อมเป็นบัณฑิตที่จะไปพัฒนาเมืองและมหานคร
  • Professional Internship
    หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อเน้นให้รู้จริง รู้ลึก ทำเป็น จึงกำหนดให้มีการฝึกปฏิบัติรวม 36 หน่วยกิต เช่น สัมมนาทางการบริหารและจัดการเมือง การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางการบริหารและจัดการเมือง สัมมนานครศึกษา นโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นโยบายการจัดการสุขภาพเมือง นโยบายการจัดการย่านเมืองเก่าและเมืองประวัติศาสตร์ การจัดการขยะมูลฝอยและกากของเสีย การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน การจัดการนวัตกรรมสื่อเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กฎหมายเพื่อการพัฒนาเมือง เป็นต้น โดยเป็นการฝึกปฏิบัติภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้การทำงานของเมืองมหานครในทุกมิติ
  • Powerful Community
    ด้วยความเข้มแข็งทางวิชาการของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขาวิชาข้ามศาสตร์ “วิทยาลัยพัฒนามหานคร” จึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะไปสู่การสถาบันวิชาการแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และบุคลากร ตลอดจนเครือข่ายเพื่อการพัฒนามหานคร ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้กับบัณฑิตที่อยากทำงานรับใช้ “เมืองและมหานคร”

การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นทำให้การบริหารท้องถิ่นมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ประกอบกับขณะที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ความเป็นเมือง การพัฒนาบุคลากรให้สามารถตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของเมือง และเป็นกำลังหลักในการบริหารจัดการ “เมืองและมหานคร” มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณะทั้งหลายล้วนแต่ถ่ายโอนสู่ “เมืองและท้องถิ่น”

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพเป็นข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีมากกว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ สามารถร่วมขับเคลื่อนประเทศผ่านการทำงานในหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่เป็นส่วนราชการ (ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น เจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์งบประมาณ นักวิชาการคลัง นักวิชาการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นักจัดการงานทั่วไป ฯลฯ หรือเป็นพนักงานในองค์การภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักวิจัย และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ในสถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษา เป็นต้น

“สาขาวิชาการบริหารและจัดการเมือง” จึงมุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความพร้อมเป็นนักบริหารเมืองมืออาชีพที่มีความรู้ด้านการบริหารจัดการกิจการสาธารณะและ “เข้าใจเมือง”

  1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนเดือนกรกฎาคมในปีที่จะเข้าศึกษา หรือ
  2. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหลักสูตร/ โรงเรียนนานาชาติ โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชาในระดับ Grade 10 – 11 (ตามระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา) หรือในระดับ Year 11 – 12 (ตามระบบการศึกษาของอังกฤษ) หรือ
  3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ
  4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร/ โรงเรียนนานาชาติ โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมรวมทุกวิชา ในระดับ Grade 12 (ตามระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา) หรือในระดับ Year 13 (ตามระบบการศึกษาของอังกฤษ)
  5. เป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ/ อาชีพ

* อ้างอิงจากประกาศมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประจำปีการศึกษา 2567

** วิทยาลัยพัฒนามหานคร ขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้สมัคร ทั้งนี้ให้ผู้สมัครติดตามการประกาศรับสมัครของมหาวิทยาลัยในแต่ละรอบอีกครั้ง

กำหนดเปิดรับสมัครในช่วงเดือน ตุลาคม – มิถุนายน ก่อนเปิดภาคการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1: สิงหาคม – ธันวาคม

ภาคการศึกษาที่ 2: มกราคม – พฤษภาคม

ภาคการศึกษาที่ 3 (ภาคฤดูร้อน): มิถุนายน – กรกฎาคม

เป็นไปตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ติดตามรายละเอียดการรับสมัครได้ที่นี่

อัตราค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตรแบบเหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 24,000 บาท

อัตรานี้จะรวมถึงค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมห้องสมุด ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาแรกเข้า รวมถึงสิ่งสนับสนุนการเรียนอื่น ๆ ที่จำเป็นตามที่วิทยาลัยพัฒนามหานครและมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชกำหนด

งานรับเข้าศึกษา หลักสูตรระดับปริญญาตรี

โทรศัพท์: 02 241 3500 ต่อ 5758 (ฝ่ายวิชาการ)

Email: pauam@nmu.ac.th