หลักสูตร วท.ม. การพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ร่วมกับ Bangkok city lab ดำเนินโครงการวิจัยการจัดการพื้นที่เชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษา ถนนสังคโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งสนับสนุนโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (อว.)
มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะการจัดการพื้นที่เชิงสร้างสรรค์สำหรับอาหารริมบาทวิถีที่ดี ถอดบทเรียนด้วยการสังเคราะห์ต้นแบบด้านการจัดการพื้นที่สำหรับอาหารริมบาทวิถีในซอยสังคโลก เขตดุสิต และเผยแพร่องค์ความรู้และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและจัดการพื้นที่สำหรับอาหารริมบาทวิถีผ่านการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึง กทม. ด้วยการทดลองปรับปรุงหลักสูตรที่เหมาะสม
โดยทางคณะทำงาน นำโดย อ.ดร.เกริดา โคตรชารี และอาจารย์จากหลักสูตร วท.ม. การพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร ร่วมด้วย ดร.ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ ผู้อำนวยการ Bangkok city lab ได้เข้าหารือกับ นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าข้าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 และสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ในการขอความร่วมมือเพื่อการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการ การจัดการพื้นที่เชิงสร้างสรรค์: หลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเส้นเลือดฝอย ให้แก่เจ้าหน้าที่ภายในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 13-14 และ 24 มิถุนายน 2567
การอบรมเชิงปฎิบัติการนี้จะมุ่งเน้นการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถทดลองวิเคราะห์และออกแบบพื้นที่ Street food เชิงสร้างสรรค์ ด้วยการใช้พื้นที่ปฏิบัติงานจริงมาทดลองเป็นโจทย์ในการพัฒนา
โปรดรอติดตามผลการดำเนินงานของโครงการฯ จะเป็นอย่างไรได้ที่เพจนี้ครับ Institute of Metropolitan Development, Navamindradhiraj University
กลับมาอีกครั้ง PAUAM × Edugo thailand
14/11/2024
เรือไฟฟ้าสุขสำราญ
11/11/2024
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต กับ มหานคร 12
25/10/2024
กิจกรรมศึกษาดูงาน พระราชวังพญาไท
21/10/2024