สุนทรียศาสตร์ในเมืองเป็นการศึกษาเมืองจากมุมมองเชิงสุนทรียศาสตร์ซึ่งถือเป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ “ครอบคลุมการรวมตัวของโครงสร้างเมือง” ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งมีวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตที่โดดเด่น คุณค่าทางสุนทรีย์ของญี่ปุ่นมุ่งเน้นไปที่คุณภาพ ความแม่นยำ รายละเอียด และการจัดเตรียมที่ซ่อนอยู่ภายในซึ่งสร้างความรู้สึกแห่งความงามแบบญี่ปุ่น (Wabi Sabi) ซึ่งเป็นการชื่นชมในความไม่สมบูรณ์หรือความงามแห่งวัยและการบำรุงรักษาอย่างดี
นิทรรศการภาพถ่าย A Flavor of City: สุนทรียศาสตร์แห่งมหานคร เป็นการมองความงามของเมืองผ่านองค์ประกอบด้านที่อยู่อาศัย โดยมีที่อยู่อาศัยประเภทอาคารสูงในญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความงาม ที่เมื่อเราเดินไปตามถนน ก็จะพบกับอาคารเหล่านี้ เนื่องจากพื้นที่เมืองกว่าร้อยละ 65 เป็นที่อยู่อาศัย ทำให้คุณลักษณะที่ปรากฏออกมา หรือรูปด้านอาคารเหล่านี้มีผลต่อความงามของเมือง และกลายเป็นบรรยากาศเมืองที่เป็นเอกลักษณ์โดยที่เราอาจไม่ทันสังเกต
นิทรรศการภาพถ่าย A Flavor of City: สุนทรียศาสตร์แห่งมหานคร จัดที่ชั้น 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตั้งแต่วันที่ 13 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
จัดโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง
วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช