หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)
Master of Science Programme in Urban Development and Management
วท.ม. (การพัฒนาและจัดการเมือง)
M.Sc. (Urban Development and Management)
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชาเฉพาะ ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
เป็นหลักสูตรแบบวิชาการ จัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาค (2 ภาคการศึกษา/ ปีการศึกษา)
ระยะเวลาการศึกษาตามแผนการศึกษา 3 ภาคการศึกษา (1 ปีครึ่ง)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง แบ่งเป็นแผนการศึกษา ดังนี้
แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์)
- วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
แผน 1 แบบวิชาการ (การศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
- วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 12 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง
ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559 เพื่อแสวงหาความรู้ในการตอบโจทย์สำคัญของปัญหาที่เกี่ยวกับเมือง เข้าใจถึงปัญหาของสังคมเมืองอย่างรอบด้านแบบสหศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างให้ผู้เรียนยุคใหม่ได้นำองค์ความรู้จากในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาของเมืองจากประสบการณ์จริง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและจัดการเมืองแห่งโลกอนาคต
ในปี พ.ศ. 2567 วิทยาลัยพัฒนามหานคร ได้ออกแบบและปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมืองให้ทันต่อบริบทของการพัฒนาและโครงสร้างของประเทศ และให้สามารถตอบสนองความต้องการองค์ความรู้เมืองที่เป็นพลวัตและทันสมัย โดยออกแบบหมวดวิชาเลือกให้มีความโดดเด่น ชัดเจน และครอบคลุมองค์ความรู้เมืองที่หลากหลาย โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวิชาเลือก ประกอบด้วย
- กลุ่มวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Environmental Creation)
- กลุ่มวิชาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)
- กลุ่มวิชาสังคมสมดุล (Balanced Society)
- กลุ่มวิชาการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (Urban Disease Control)
“Lead with Ideas in Urban Development”
- Accelerated and Intensive
ออกแบบการเรียนการสอนอย่างเข้มข้นและเร่งรัด มีโครงสร้างวิชาหลักที่เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะและไอเดียใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาเมือง ผ่านสาระวิชาที่เกี่ยวกับการวางแผน นโยบายสาธารณะ การจัดการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจเมือง ระเบียบวิธีวิจัย และห้องวิจัย นอกจากนี้ การสอนจะเน้นการค้นหาโจทย์จากสถานการณ์จริง โดยใช้กรุงเทพมหานครและเมืองหลักต่าง ๆ ของประเทศ เป็น “ห้องทดลอง” เรียนรู้จากปัญหา (Problem-based Learning) เพื่อพัฒนาเมืองและมหานคร - Adjustable
ออกแบบหลักสูตรให้ยืดหยุ่น โดยจัดลักษณะการเรียนในแบบวิชาเดียวต่อเนื่อง (Block Course) โดยออกแบบให้แต่ละวิชาเรียนแบบต่อเนื่องในระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 5 สัปดาห์ ในช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ และเชื่อว่ามีความเหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการเรียนและทำงานไปควบคู่กัน โดยหลักสูตรนี้ใช้เวลาเรียนตลอดหลักสูตรประมาณ 1 ปีครึ่ง
มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถร่วมขับเคลื่อนประเทศผ่านการทำงานในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์การระหว่างประเทศ เพื่อดำเนินงานด้านการพัฒนาและจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ที่อยู่อาศัย การวางแผนพัฒนาเมือง การบริการสังคม วัฒนธรรม และสาธารณสุข ในฐานะ
- ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- นักธุรกิจ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและจัดการเมือง
- ที่ปรึกษาในหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและจัดการเมือง
- นักวิจัยในภาควิชาการ ธุรกิจ องค์กรเอกชนและราชการ ด้านการพัฒนาและจัดการเมือง
- นักวิเคราะห์ด้านการพัฒนาและจัดการเมืองของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น นักวิเคราะห์ผังเมือง นักผังเมือง เป็นต้น
- นักวิชาการและอาจารย์ในประเทศและต่างประเทศ
“สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง” จึงมุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความพร้อมเป็นนักบริหารเมืองมืออาชีพ เป็นผู้นำแห่งอนาคต มีความรู้ด้านการบริหารจัดการกิจการสาธาณะ และ “เข้าใจเมือง”
1.1 แผน 1 (ทำวิทยานิพนธ์)
- เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้องโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป หรือสำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือสูงกว่ามาแล้ว โดยผู้สมัครต้องมีประสบการณ์ทำงางานที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาและจัดการเมือง หรือมีคุณสมบัติที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์ สมัครเข้าศึกษาได้ และเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 หมวด 2 การรับเข้าศึกษา และการขึ้นทะเบียนนักศึกษา
- มีผลสอบความรู้ภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ TOEFL หรือ IELTS หรือ CU-TEP หรือ TEC-W (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร) หรือเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือยื่นผลสอบภายหลังผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแล้วไม่เกิน 1 ปี
- มีการนำเสนอโครงร่างงานวิจัยแบบสมบูรณ์ (full proposal) ที่คาดว่าจะพัฒนาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อพิจารณา
- คุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนดโดยประกาศให้ทราบในแต่ละปี
1.2 แผน 1 (การศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
- สำเร็จปริญญาตรีสาขาขาที่เกี่ยวข้อง หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณา แล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้ และเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 หมวด 2 การรับเข้าศึกษา และการขึ้นทะเบียนนักศึกษา
- มีผลทดสอบภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ TOEFL, IELTS, CU-TEP หรือ TEC-W (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร) หรือเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือยื่นผลลสอบภายหลังผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแล้วไม่เกิน 1 ปี
- คุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนดโดยประกาศให้ทราบในแต่ละปี
- รับสมัคร 19 พ.ค. 68 – 18 มิ.ย. 68
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสัมภาษณ์ 27 มิ.ย. 68 ทาง imd.nmu.ac.th
- สอบสัมภาษณ์ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Google Meet 3 ก.ค. 68
- ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือก 18 ก.ค. 68
- สมัครกดที่นี้
- รายงานตัวรายงานตัว และปฐมนิเทศเวลา 09.00 น. ณ วิทยาลัยพัฒนามหานคร อาคารนวมินทร์ 1 ชั้น 3 ซอยสามเสน 13 ฝั่งราชวิถี ถนนสามเสน 24 ก.ค. 68
- ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ 24 ก.ค. 68 ที่ https://reg.nmu.ac.th/registrar/home.asp
- พิมพ์ใบชำระเงิน และชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา 24 ก.ค. – 17 ส.ค. 68 ช่องทางดังนี้
• จุดรับบริการ ธนาคารกรุงไทย และเคาน์เตอร์เซอร์วิส
• ออนไลน์ แอพพลิเคชั่นของทุกธนาคาร - วันแรกของการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร 2 ส.ค. 68
- เปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย 4 ส.ค. 68
- รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก
สอบคัดเลือกด้วยวิธีการสัมภาษณ์เท่านั้น
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 หมวด 2 การรับเข้าศึกษา และการขึ้นทะเบียนนักศึกษา
อัตราค่าธรรมเนียมต่อภาคการศึกษาไม่เกิน 35,000 บาท หรือ ตลอดหลักสูตร 3 ภาคการศึกษา รวมทั้งหมดไม่เกิน 105,000 บาท
อัตรานี้จะรวมถึงค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมห้องสมุด ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาแรกเข้า รวมถึงสิ่งสนับสนุนการเรียนอื่น ๆ ที่จำเป็นตามที่วิทยาลัยพัฒนามหานครและมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชกำหนด
งานรับเข้าศึกษา หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
โทรศัพท์: 02 241 3500 ต่อ 5758 (ฝ่ายวิชาการ)
Email: imd@nmu.ac.th