“Smart City and Urban Brand Development for Sustainable Growth”
เมืองอัจฉริยะ กับการพัฒนาแบรนด์เมือง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
IMD Symposium 2025 การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2
ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นช่วงทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลกระทบในวงกว้างต่อคนทั้งโลก ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตของคนในทุกด้านอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงอีกมาก ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพัฒนามหานครเล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจากคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษานั้น สามารถเป็นกลไก องค์ความรู้ แนวทาง รูปแบบ และประโยชน์สำคัญ ในการพัฒนา บริหารจัดการเมือง และปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการดำเนินชีวิตของบ้านเมือง สังคม และประเทศ
วิทยาลัยพัฒนามหานคร จัดกิจกรรมประชุมนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 เพื่อเผยแพร่งานวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นเวทีที่สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์สู่สาธารณชน เป็นการสร้างเครือข่ายงานวิจัย นำไปสู่การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานประชุมในครั้งนี้เน้นถึงการเสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อสาขาวิชาที่หลากหลาย ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเมือง ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่สนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เพื่อเป็นฐานสำหรับการพัฒนาด้านวิชาการ การบริหารจัดการ และเป็นสาระสำคัญในการดำเนินการวิจัยต่อยอดสำหรับคณาจารย์ นักศึกษา หรือนักวิชาการต่าง ๆ ที่สนใจ ตลอดจนผู้เข้าร่วมดังกล่าวจะได้ความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์จากแนวคิดใหม่ของผู้เข้าร่วม
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 28 กุมภาพันธ์ 2568
งานประชุมวิชาการ 21 มีนาคม 2568
กำหนดการงาน คลิก
- รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์
- มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ
- การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
- สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
- ศิลปวัฒนธรรม และสังคมศึกษา
- ประชากรศาสตร์
- วิทยาศาสตร์กายภาพ
- การบริหารธุรกิจ การตลาด และการจัดการ
- เศรษฐศาสตร์
- สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
Template บทความวิจัย
Template บทความวิชาการ
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความวิชาการ
1 รองศาสตราจารย์วันชัย มีชาติ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แสน กีรตินวนันท์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
4 รองศาสตราจารย์ ดร.นันทสารี สุขโต มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
5 รองศาสตราจารย์ ดร.มณีรัตน์ องค์วรรณดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
6 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชุลีรัตน์ เจริญพร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
7 อาจารย์ ดร.เกริดา โคตรชารี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
8 อาจารย์ ดร.มนต์ธัช มะกล่ำทอง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
9 รองศาสตราจารย์รัตน์ สงวนพงษ์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
10 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ ศูนย์ทดลองเมืองแห่งกรุงเทพ (City Lab)
11 ศาสตราจารย์ ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12 รองศาสตราจารย์ ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร มหาวิทยาลัยมหิดล
13 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย มหาวิทยาลัยมหิดล
14 รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
15 รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต อู่อ้น มหาวิทยาลัยศรีปทุม
16 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังกูร ลาภธเนศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
17 รองศาสตราจารย์ ดร.นิติพล ภูตะโชติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
18 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
19 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิสิษฐ์ พันธ์เทียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
20 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
21 อาจารย์ ดร. วัชรพล ยงวณิชย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
22 รองศาสตราจารย์ ดร. พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย
23 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ญาณกร โท้ประยูร สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย
24 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรัตนา เจริญจิตต์ สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย
งานวิจัย ฝ่ายวิชาการ
โทรศัพท์: 02 241 3500 ต่อ 5758 (ฝ่ายวิชาการ)
ช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี