อาจารย์ ดร.เกริดา โคตรชารี
Querida Khotcharee, Ph.D.
ติดต่อ: ห้อง 305 ชั้น 3 อาคารนวมินทร์ 1 วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
Email: querida@nmu.ac.th
เกริดา โคตรชารี เป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนามหานคร ที่มีความหลงใหลต่อชีวิตผู้คนที่อยู่อาศัยในเมือง จากความหลงใหลนำไปสู่ความสงสัยอย่างจริงจัง จึงได้กระโดดข้ามจากการเข้าใจเมืองผ่านมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ไปมองพฤติกรรมของคนผ่านแว่นของนิเทศศาสตร์ เมื่อความสงสัยของเด็กต่างจังหวัดที่ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองแน่น ๆ อย่างกรุงเทพฯ ยังคงไม่จางหาย เลยกระโดดก้าวใหญ่กว่าเดิมไปคลุกคลีกับวงการที่อยู่อาศัย พ่วงท้ายด้วยการพัฒนาเมือง เกริดาจึงเริ่มเห็นว่า “เมืองคือผู้คน” และหวังว่าการสอนกับงานวิจัยของตัวเองจะทำให้คนในเมืองมีที่อยู่อาศัยที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
เกริดา โคตรชารี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านนิเทศศาสตร์ รวมถึงการวางแผนภาคและเมืองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ไปศึกษาต่อที่ Erasmus University Rotterdam ที่มีเพื่อนร่วมชั้นมาจากแทบทุกทวีปในโลก ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนเครื่องมือในการพัฒนาเมืองจากมุมมองใหม่ ๆ เกริดาจึงเคารพในความหลากหลายและข้อจำกัดในการพัฒนา ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน Urban Science ที่ Meijo University ประเทศญี่ปุ่น เวลาว่างชอบปั่นจักรยานไปสำรวจย่านที่อยู่อาศัยและถนนหนทาง
- Ph.D. (Urban Science) Meijo University, Japan
- M.Sc. (Urban Management and Development) Erasmus University Rotterdam, Netherlands
- ผ.ม. (การวางแผนภาคและเมือง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นศ.ม. (นิเทศศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศ.บ. (เศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เศรษฐศาสตร์เมือง
- การพัฒนาชุมชนและที่อยู่อาศัย
- การบริหารจัดการเมือง
- การบริหารจัดการที่ดินเมือง
- การวางแผนและนโยบายเมือง
- การสื่อสารความเสี่ยง
- อาจารย์ ภาควิชาการบริหารและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- คณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- นักวิจัยและผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)
- ผู้ช่วยนักวิจัย ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ช่วยนักวิจัยและวิทยากร ภาควิชาโฆษณาและประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ทีมสนับสนุนการค้า ฝ่ายค้าปลีกสมัยใหม่ ข้าวตราฉัตร ซี.พี. กรุ๊ป
- Khotcharee, Q. and Fukushima, S. (2020). An emerging of peer-to-peer accommodation sharing in Bangkok: Implications for the housing market distortion. In Proceeding of the 16th International Conference of Asian and African City Planning (AACP2020). Tokyo: Association of Asian and African City Planning.
- กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ และคณะ. (2563). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการความสอดคล้องระหว่างการพัฒนาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานมหานครกรุงเทพกับปฏิญญาสากลด้านที่อยู่อาศัย Habitat III: กรณีศึกษา พื้นที่เมืองธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- มนต์ธัช มะกล่ำทอง และคณะ. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดพื้นที่สำหรับอาหารหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาพื้นที่แนวรถไฟฟ้าในเขตราชเทวี และเขตพญาไท. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.
- Khotcharee, Q. and Maglumtong, M. (2019). Surviving forms of Bangkok street food vending after the ‘Return the walkway to the public’ policy. In Proceedings of SPACE international Conference 2019 on Sustainable Architecture, Planning and Urban Design (pp. 48 – 57). London: SPACE Studies Publications.
- Khotcharee, Q. (2018). Has land sharing achieved its objective to maintain the poor in inner city?. In Proceedings of the 5th International Conference on Civil Engineering, Architecture, and Urban Planning Elites. Paris: Centre Malesherbes de L’Université Paris-Sorbonne.
- Vichienpradit, P. & Khotcharee, Q. (2017). Investigation of community-temple-school concept in Thai urban communities. In Proceedings of the 14th International Congress of Asian Planning School Association 2017, Asia: Reshaping Urban & Rural Development through Planning. Beijing: School of Architecture, Tsinghua University.
- ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). Urban Think-Tank: Think Different, Now and Then. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). Film and the City: A Perspective of City Through Film. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- สมิทธิ์ บุญชุติมา และ เกริดา โคตรชารี. (2559). การสื่อสารความเสี่ยง. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.
- กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ และคณะ. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาการในการดำเนินงานโครงการอสังหาริมทรัพย์ ชุมชนและที่อยู่อาศัยของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- Khotcharee, Q. and Vichienpradit, P. (2016). The relevance between community-temple-school concept and neighbourhood unit concept. In Proceedings of the 24th Pacific Conference of RSAI (PRSCO 2016). Bangkok: Pacific Regional Science Conference Organization.
- Khotcharee, Q. (2013). Antecedents of online perceived risk and purchasing behavior of generation X and Y consumers. Journal of Public Relations and Advertising, 6(2), 39 – 56.
- ทุนโครงการ Meijo University Scholarship Awarded for Doctoral Scholarship Program for Asian University Faculty (พ.ศ. 2563)
- เข้ารอบสุดท้ายโครงการ the Startup in Residence Programme จัดโดยเทศบาลกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนในเมืองเสนอโครงการและรับงบประมาณจริงจากเมือง และทำงานร่วมกับเมืองเพื่อพัฒนาย่านที่กำหนด (พ.ศ. 2560)
- ทุนโครงการ The Netherlands Fellowship Programme (NFP) Scholarship Awarded for the International Course Programme in Urban Management and Development จากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ (พ.ศ. 2559)
- ทุนโครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. ด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ กลุ่มหัวข้อการวิจัย การประยุกต์ใช้แนวคิดด้านที่อยู่อาศัยของตะวันตกสู่อัตลักษณ์ชุมชนไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ ประจำปีงบประมาณ 2559 (พ.ศ. 2559)