ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น

Asst. Prof. Chettha Sapyen, Ph.D.

ติดต่อ: ห้อง 403 ชั้น 4 อาคารนวมินทร์ 1 วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
Email: chettha@nmu.ac.th

เชษฐา ทรัพย์เย็น สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทด้านการเมืองการปกครอง และปริญญาตรีด้านบริหารรัฐกิจ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เชษฐา ทรัพย์เย็น เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา, โฆษกและอนุกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการด้านวิชาการและเสริมสร้างการให้ความรู้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วุฒิสภา,รองประธาน คณะทำงานศึกษาผลกระทบนโยบายหาเสียงเชิงประชานิยมของพรรคการเมืองไทย วุฒิสภา, กรรมการ คณะกรรมการอำนวยการในคณะกรรมการด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กรุงเทพมหานคร, ผู้อำนวยการเนชั่นโพล เป็นต้น

  • ร.ด. (รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ร.ม. (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ร.บ. (บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.บ. (เศรษฐศาสตรธุรกิจ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • การเมืองการปกครอง
  • การจัดการภาครัฐ
  • การวางแผนและนโยบายเมือง
  • การบริหารองค์การและการจัดการเมือง
  • คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • รองประธานคณะกรรมการอำนวยการติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียนโครงการ U2T for BCG ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • คณะทํางานโครงการหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านการบูรณาการพัฒนากรุงเทพมหานคร อย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • คณะกรรมการประเมินบุคคล กลุ่มเชี่ยวชาญเฉพาะ สายงานทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • เชษฐา ทรัพย์เย็น, จิตเจริญ ศรขวัญ และจิตตรี พละกุล. 2567. การรับรู้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น (เมษายน – มิถุนายน) (TCI กลุ่ม 1).
  • เชษฐา ทรัพย์เย็น (คณะผู้วิจัย). 2567. โครงการวิจัยความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ไทยกับสหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ (SACU) และไทยกับสหภาพแอฟริกา (AU). กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.
  • เชษฐา ทรัพย์เย็น (หัวหน้าโครงการวิจัย). 2567. รายงานวิจัยการพิจารณาศึกษาเรื่อง ผลกระทบของนโยบายหาเสียงเชิงประชานิยมของพรรคการเมืองไทย. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา. สำนักกรรมาธิการ 2 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
  • เชษฐา ทรัพย์เย็น (หัวหน้าโครงการวิจัย). 2567. รายงานวิจัยการพิจารณาศึกษาเรื่อง ผลกระทบของนโยบายหาเสียงเชิงประชานิยมของพรรคการเมืองไทย. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา. สำนักกรรมาธิการ 2 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
  • เชษฐา ทรัพย์เย็น. 2564. ประชาสังคมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
  • Chettha Sapyen and Pornsak Thamminit. 2018. “The Development of Civic Education Process toward Citizen Politics of Civil Society based on the Concept of Co-Production.” Proceedings of the Second International Conference on Nation-Building 2018: Innovative Solutions for Rural Development to Move towards a Developed Country (November 6-8, 2018). Nation-Building Institute and Women’s Institute of Management (WIM).
  • เชษฐา ทรัพย์เย็น. 2560. “การปกครองตนเองผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและการมีจิตสำนึกประชาธิปไตยของประชาสังคม.” วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน). (TCI กลุ่ม 1).
  • เชษฐา ทรัพย์เย็น. 2560. “พระมหาบารมี : พระแสงขรรค์ชัยศรีแห่งการผ่าทางตันการเมืองไทย.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 11 ฉบับพิเศษเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (special edition). (TCI กลุ่ม 1).
  • Chettha Sapyen. 2017. “Political Movement Strategies of Civil Society for Driving National Policy : The Case of Rural Doctor Movement.” Proceedings of International Conference on Nation-Building : Innovative Solutions for Sustainable Economic, Political and Social Development (May 28-30, 2017). Nation-Building Institute and University of London (Thailand Center).
  • เชษฐา ทรัพย์เย็น. 2559. “การจัดการภาครัฐแบบเน้นพลเมือง : จากการบริหารภาครัฐแนวใหม่สู่การบริการภาครัฐแนวใหม่.” วารสารมนุษย์และสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน).
  • ผู้อำนวยการจัดทำผลการสำรวจความนิยม (Poll) ร่วมกับสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี ช่อง 22 ในนาม “Nation Poll” ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2566
  • ผู้บริหารการจัดทำผลการสำรวจความนิยม (Poll) ร่วมกับสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี ช่อง 22 ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2565
  • เป็นคณะผู้นำในการจัดตั้งเครือข่ายราชภัฏรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ (MOU) โดยมีการดำเนินการจัดประชุมแลกเปลี่ยนและร่วมมือทางวิชาการเป็นประจำทุกปี
  • ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ประจำสำนักรัฐมนตรี)
  • ประธานคณะทำงานพิจารณาศึกษาเรื่องแนวทางส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้บริบทการศึกษาของไทย วุฒิสภา
  • คณะทำงานพิจารณาศึกษาแนวทางการยกร่างกฎหมาย เพื่อการเสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์และสหภาพแรงงานในภาครัฐ ในคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
  • คณะทำงานแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับเงินเดือนข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
  • ประกาศเกียรติคุณรางวัล “นักบริหารดีเด่นแห่งปี” พุทธศักราช 2559 (Executive of the Year 2016) สาขาบริหารและพัฒนาองค์กร มอบรางวัลโดย ฯพณฯ องคมนตรี พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข
  • โล่รางวัลสิงห์ทอง “ผู้บริหารพัฒนาสถานศึกษาดีเด่นแห่งปี 2559” (รางวัลธรรมาภิบาล) มอบรางวัลโดย ฯพณฯ องคมนตรี พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์
  • รางวัล “คนดี ความดี แทนคุณแผ่นดิน” พุทธศักราช 2558 สาขาบริหารการศึกษา มอบรางวัลโดย ฯพณฯ องคมนตรี นายอำพล เสนาณรงค์
  • รางวัล “บุคคลตัวอย่างแห่งปี” พุทธศักราช 2557 สาขาบริหารการศึกษาและพัฒนาสังคม มอบรางวัลโดย ฯพณฯ องคมนตรี นายอำพล เสนาณรงค์
  • รางวัล “ข้าราชการไทยตัวอย่างประจำปี 2560” งานประกาศรางวัลเกียรติคุณ โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพข้าราชการไทยที่ดีเพื่อเป็นคนดีของแผ่นดิน มองรางวัลโดย ฯพณฯ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรีในรัชกาลที่เก้า
  • ทุน 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช”
  • ทุนโครงการนักศึกษาเรียนดีระดับปริญญาโท ของ ราชกรีฑาสโมสร (The Royal Bangkok Sports Club)

ระดับปริญญาโท

  • แนวคิดทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์