Revenue Enhancement Strategical Techniques Training: RESTT

การฝึกอบรมเทคนิควิธีเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น (Revenue Enhancement Strategical Techniques Training: RESTT)

1. หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีอำนาจในการจัดเก็บรายได้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจทางการคลังที่ต้องการส่งเสริมให้ อปท. มีความสามารถในการบริหารการคลังของตนเอง เพื่อให้มีงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเหมาะสมและเท่าทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มความสามารถของ อปท. ในการจัดเก็บรายได้ ยังถือว่าเป็นปัญหาหลักของ อปท. จำนวนมาก ซึ่งจากการศึกษาวิจัยและทดลองกับ อปท. หลายแห่งในระยะเวลา ที่ผ่านมา มีข้อสรุปสำคัญประการหนึ่งคือ หากมีการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวได้มากยิ่งขึ้น ย่อมส่งผลให้ อปท. มีรายได้ในการบริหารจัดการทางการคลังและการให้บริการสาธารณะได้คล่องตัว มากยิ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้ ของ อปท. จึงได้ร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยและให้คำปรึกษาการจัดการฝึกอบรมเทคนิควิธีเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น โดยนำต้นแบบเครื่องมือและวิธีการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยที่ผ่านมาของ บพท. เพื่อให้ อปท. อื่น ๆ ได้เรียนรู้เป็นกรณีศึกษา พร้อมกับการทำซํ้า (Replication) หรือการปรับใช้ในพื้นที่และบริบทที่แตกต่างกัน ผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมใช้ข้อมูลจริงเพื่อการแก้ไขปัญหา และออกแบบมาตรการ เครื่องมือ และแผนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยมีการให้คำแนะนำ การติดตามผลความสำเร็จและความคุ้มค่าของแผนการดำเนินงานพัฒนารายได้ท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้ารับการอบรมและมีการนำเอาแผนการพัฒนารายได้ไปใช้ปฏิบัติการจริง

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พัฒนาความรู้และแนวคิด ประสบการณ์ และกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำไปใช้พัฒนาการจัดเก็บรายได้ของ อปท.
ที่ตนปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อฝึกปฏิบัติการเชิงเทคนิคและแนวทางแก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันนำไปสู่การทำแผนพัฒนาการจัดเก็บรายได้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

3. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

3.1 การฝึกอบรมนี้เปิดรับสมัครในรูปแบบกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน ต่อ อปท. 1 แห่ง แต่ละกลุ่มประกอบด้วยบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำแหน่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
(1) ผู้บริหารท้องถิ่นฝ่ายการเมือง เช่น นายก อปท. รองนายก อปท. หรือฝ่ายประจำ เช่น ปลัด อปท. รองปลัด อปท. ผู้อำนวยการสำนักการคลัง/ กองคลัง หรือส่วนราชการอื่น ๆ ที่รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น และ
(2) ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบหรือที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น เช่น นักวิชาการจัดเก็บรายได้ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานด้านพัฒนารายได้และบริหารจัดเก็บภาษี
3.2 เป็นผู้ที่สามารถเข้ารับการฝึกอบรมต่อเนื่องตลอดโครงการ โดยมีเวลาฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

4. ระยะเวลาและสถานที่การฝึกอบรม

ระยะเวลาการฝึกอบรมหัวข้อละ 3 ชั่วโมง เป็นจำนวน 8 ครั้ง (4 วัน) รวมตลอดหลักสูตร 24 ชั่วโมง ในพื้นที่จังหวัดดังต่อไปนี้
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 24 – 27 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 8 – 11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเดอะรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพฯ

5. รูปแบบการอบรม

การฝึกอบรมนี้จัดรูปแบบการฝึกอบรมในสถานที่จริง (Onsite) ครอบคลุมทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
5.1 การบรรยายในหัวข้อพื้นฐาน (วันที่ 1 และวันที่ 2) เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น และมีการฝึกปฏิบัติเพื่อเสริมความเข้าใจจากการบรรยาย
5.2 การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพิ่มการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้กรณีศึกษา ในหัวข้อปฏิบัติการออกแบบเทคนิคพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น (วันที่ 3)
5.3 การนำเสนอประเด็นปัญหาจากพื้นที่จริงของผู้ฝึกอบรม (Problem based) และนำเสนอหัวข้อโครงการเพื่อพัฒนาการจัดเก็บรายได้ (วันที่ 4) เพื่อการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น และผลักดันให้นำโครงการดังกล่าวไปใช้จริงในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป

6. หัวข้อการอบรม

(1) ทิศทางของรัฐในการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองทางการคลังของท้องถิ่น
(2) กรอบคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และเมนูเทคนิคพัฒนาการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น
(3) เทคนิคสำรวจ เทคโนโลยีสารสนเทศ การดึงข้อมูล (Scraping) เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลภาษีท้องถิ่น และระบบอำนวยความสะดวกในการชำระภาษี
(4) เทคนิคสะกิด (Nudge strategies) เพื่อเพิ่มความเต็มใจในการจ่ายภาษี
(5) การขยายฐานภาษีท้องถิ่นจากการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน การขจัดความยากจน และการสร้างรายได้จากทุนทรัพยากรและวัฒนธรรมชุมชน
(6) ฝึกปฏิบัติการออกแบบเทคนิคพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น
(7) นำเสนอผลงานแผนการพัฒนารายได้ท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(9) ประกาศรางวัลแผนพัฒนารายได้ท้องถิ่น มอบรางวัล และสรุปเนื้อหาการอบรม
(10) แนะนำการเปิดรับโครงการทดลองมาตรการพัฒนารายได้ท้องถิ่น ประจำปี 2567

7. เงื่อนไขการสำเร็จการฝึกอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่โครงการจะอนุมัติให้ผ่านการฝึกอบรม จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนคือเข้ารับการฝึกอบรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาฝึกอบรม และเมื่อสำเร็จการฝึกอบรม จะได้รับประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

8. การรับสมัคร

8.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสงค์จะสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม สามารถศึกษาข้อมูลโครงการและรายละเอียดต่าง ๆ ได้ทางเว็บไซต์โครงการ https://imd.nmu.ac.th/uic-th
8.2 กำหนดการรับสมัคร

รุ่นที่สถานที่จัดอบรมกำหนดรับสมัครปิดรับสมัครประกาศรายชื่อ อปท. ที่เข้าอบรม
1จังหวัดเชียงใหม่16 มิถุนายน 256613 กรกฎาคม 256614 กรกฎาคม 2566
2จังหวัดสุราษฎร์ธานี16 มิถุนายน 25663 สิงหาคม 25667 สิงหาคม 2566
3กรุงเทพฯ16 มิถุนายน 256624 สิงหาคม 256625 สิงหาคม 2566

รับสมัครทางเว็บไซต์โครงการ https://imd.nmu.ac.th/uic-th (ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

8.3 การสมัครเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม
(1) เปิดเว็บไซต์ https://imd.nmu.ac.th/uic-th
(2) เลือกหัวข้อ “สมัครเข้าร่วมฝึกอบรม” และกรอกข้อความในระบบรับสมัคร (Google Form) ให้ถูกต้องครบถ้วน โดย 1 อปท. กรอกข้อความในระบบรับสมัครเพียงครั้งเดียว และกรอกรายละเอียดของสมาชิกในกลุ่มให้ครบทุกราย จากนั้นให้กดส่งข้อมูล (Submit)
(3) เมื่อกดส่งข้อมูลแล้ว ผู้สมัครจะได้รับอีเมลตอบกลับจากโครงการฯ เพื่อยืนยันการรับสมัคร และจะได้รับลิงก์ (Link) สำหรับส่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ได้รับอีเมลตอบกลับ ให้ส่งอีเมลไปที่ restt.uic@gmail.com เพื่อยืนยันการสมัครและขอรับลิงก์สำหรับส่งข้อมูลเพิ่มเติม
(4) ผู้สมัครสามารถเข้าไปยังลิงก์ที่ได้รับทางอีเมล เพื่อกรอกข้อมูลและอัปโหลด (Upload) เอกสารที่เกี่ยวข้องตามหัวข้อที่โครงการฯ กำหนด โดยสามารถกรอกข้อมูลได้ภายในวันปิดระบบรับสมัครของแต่ละรุ่น
(5) เมื่อกดส่งข้อมูลแล้ว ผู้สมัครจะได้รับอีเมลตอบกลับจากโครงการฯ เพื่อยืนยันการส่งข้อมูล
8.4 การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
คณะผู้วิจัยในฐานะผู้จัดโครงการฯ จะคัดเลือกผู้สมัครจาก อปท. ต่าง ๆ ตามข้อมูลที่ได้รับจากการส่งในระบบรับสมัคร ให้ครบตามจำนวนผู้เข้าอบรมที่ระบุในข้อเสนอโครงการวิจัยฯ
8.5 การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าอบรม
โครงการฯ จะประกาศรายชื่อกลุ่มผู้สมัครที่มีสิทธิเข้ารับการอบรมทางเว็บไซต์โครงการ https://imd.nmu.ac.th/uic-th ผู้มีสิทธิเข้ารับการอบรมจะต้องยืนยันสิทธิการเข้าร่วมการฝึกอบรมตามที่โครงการฯ กำหนด ทั้งนี้ หากมีกรณีที่มีการยืนยันสิทธิ์ในแต่ละรุ่นไม่ครบตามจำนวนเป้าหมาย โครงการฯ อาจประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติม ก็ได้

9. ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการฝึกอบรม

การฝึกอบรมเทคนิควิธีเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการวิจัยและให้คำปรึกษาการจัดการฝึกอบรมเทคนิควิธีเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น” ซึ่งได้รับอุดหนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ดังนั้น จึงไม่มีค่าธรรมเนียมหรือค่าลงทะเบียนการฝึกอบรมใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อาทิ ค่าเดินทางไป-กลับ ค่าที่พัก สามารถเบิกได้จากต้นสังกัดของผู้สมัครโดยเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง

10. ผู้รับผิดชอบ และข้อมูลสำหรับติดต่อ

(1) ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
โครงการวิจัยและให้คำปรึกษาการจัดการฝึกอบรมเทคนิควิธีเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น ดำเนินการโดยศูนย์สร้างสรรค์เมืองเพื่ออนาคต วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (อาจารย์กิรพัฒน์ เขียนทองกุล หัวหน้าโครงการ)
(2) ข้อมูลสำหรับติดต่อ
อีเมล restt.uic@gmail.com
Line Official @734zgrer (พิมพ์ @ ก่อน)
ผู้ประสานงานโครงการ
อาจารย์นฤมล นิ่มนวล โทร. 087 943 0424 อีเมล narumon.nim@nmu.ac.th
นางสาวเกษรา ศรีนาคา โทร. 084 501 4814 อีเมล kessara.snk@gmail.com

ท่านสามารถ Download เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้ที่ปุ่มด้านล่างนี้