Author: Institute of Metropolitan Development, Navamindradhiraj University

ทัศนศึกษาเพื่อเรียนรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ

     เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา รายวิชาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ นำโดยรองศาสตร์ราจารย์นันทสารี สุขโต และคณะนักศึกษา เข้าศึกษาดูงาน ณ สำนักพัฒนาสังคม กทม. และ โรงเรียนฝึกอาชีพ ได้รับฟังการบรรยายจากคุณพิชญ์สินี ปานเกตุ ในหัวข้อ “การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับผลิตภัณฑ์บางกอกแบรนด์” รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดแบบบูรณาการ โดยได้รับความรู้และประสบการณ์ที่มีประโยชน์สำหรับการเตรียมตัวเข้าสู่สายอาชีพในอนาคต

Guest speaker: รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช

    หลักสูตร วท.ม. สาขาการพัฒนาและจัดการเมือง ผู้จัดการเรียนการสอนรายวิชา นโยบาย การวางแผนและการคลังสุขภาพเขตเมือง (Policy Planning and Financing in UDC) ให้กับนักศึกษาปริญญาโท หลักสูตร วท.ม. สาขาการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้รับเกียรติจากรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช บรรยายในหัวข้อ ‘การออกแบบทางเลือกทางนโยบายและการวางแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา การปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจายอำนาจด้านสุขภาพในประเทศไทยและต่างประเทศ’ พร้อมทั้งได้แบ่งปันประสบการณ์ทำงานในฐานะผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้กับนักศึกษา ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566

กิจกรรมการประกวด IMD Ambassador 2023

     เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 66 คณะวิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินธราธิราช จัดกิจกรรมการประกวด IMD Ambassador เพื่อเป็นตัวแทน ส่งเสริม สร้างภาพลักษณ์ที่ดี และประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ในสื่อสังคมออนไลน์ และสื่อในช่องทางอื่นๆ ณ อาคารนวมินทร์ 1 ชั้น 6 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จัดโดย สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และมีกรรมการ 4 ท่าน คือ คุณมณสิการ รามจันทร์ บรรณาธิการข่าวสำนักข่าวพิมพ์ไทย , คุณนิธิพร แสงทอง มิสแกรนด์แพร่ 2020, อาจารย์ ดร.นิสากร นครเก่า ประธานหลักสูตร ศศ.บ. นวัตกรรมการบริการ และอาจารย์ชลิต เฉียบพิมาย อาจารย์ประจำหลักสูตร ศศ.บ. นวัตกรรมการบริการ และทีมงานกองประกวด Tourism World Organization 2012

     เวทีการประกวดได้จำลองเวทีการประกวดจริงอย่างมืออาชีพได้ให้นักศึกษาผู้เข้าประกวดและเพื่อนๆที่ส่งเสียงเชียร์ได้เรียนรู้ร่วมกัน ถึงการแสดงออกทางความคิดและบุคลิกภาพอย่างสร้างสรรค์ เป็นเวทีแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ด้วยการปฏิบัติจริง นอกจากเป็นการสอนวิชาชีพด้านหนึ่งแล้วยังเป็นการสร้างความรักสมัครสมานสามัคคีสร้างการเรียนรู้แก่นักศึกษาได้เป็นอย่างดี จนสามารถได้รับ IMD Ambassador ที่ผ่านเวทีการคัดเลือกตามกติกาและมีมติเอกฉันท์
ขอขอบคุณข่าวจาก พิมพ์ไทยออนไลน์

CreativeTrail คน | เมือง | ความเหลื่อมล้ำ

    หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและจัดการเมือง ร่วมกับ Feel Trip สาธารณศึกษา โดย อาจารย์วรัญญู เสนาสุ ประธานหลักสูตร คณาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษารายวิชาความรู้เบื้องต้นทางการบริหารจัดการเมือง ร่วมสำรวจเมือง ผ่านกิจกรรม “#CreativeTrail คน | เมือง | ความเหลื่อมล้ำ” โดยมีคุณอินทิรา วิทยสมบูรณ์ เป็นผู้นำทางสำรวจ โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาเรียนรู้ชีวิตสาธาณะ ผ่านการสำรวจ “เดินตรอก/ ออกซอย พบปะ/ ฟังเสียงผู้คน และมองเมืองเพื่อเข้าใจความเหลื่อมล้ำ” โดยสำรวจเมืองพื้นที่เมืองย่านหัวลำโพง ชุมชนวัดดวงแข วงเวียน 22 กรกฎา และชุมชนสวนหลวง ระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร


     การเรียนรู้วิถีชีวิตสาธารณะผ่านระดับสายตาและประสาทสัมผัส ด้วยการมองดูและเรียนรู้ นักศึกษาของสาขาบริหารจัดการเมืองจะได้ค้นพบและเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ วิถีวัฒนธรรมที่ผสมผสาน ปรับตัว สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ ความเชื่อมโยงของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบ้าน ย่าน และเมือง และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสาธาณะ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเมือง โดยทำความเข้าใจกับประเด็นความเหลื่อมล้ำของเมือง ผ่านพื้นที่จริงที่เกิดจากเวนคืน ไล่รื้อ สภาพความเป็นอยู่ในชุมชนแออัด การทดแทนพื้นที่สาธารณะและเข้าไม่ถึงการใช้ประโยชน์ รวมถึงอาชีพนอกระบบของคนเมือง

Visiting ตลาดน้อยเจริญกรุง Healthy city X Creative district

     นักศึกษาและคณาจารย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช รับฟังการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ คุณจุฤทธิ์ กังวานภูมิ สถาปนิกชุมชนและผู้ก่อตั้ง ‘กลุ่มปั้นเมือง’ ณ บริษัท ปั้นเมือง จำกัด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ถึงกระบวนการพัฒนาย่านสร้างสรรค์กรณีศึกษาตลาดน้อยเจริญกรุง องค์ประกอบของพัฒนาสู่ย่านสร้างสรรค์ แนวทางขับเคลื่อน การมีส่วนร่วมของชุมชน การร่วมสร้างวิสัยทัศน์ชุมชน (community vision) และถ่ายทอดประสบการณ์ทำงานในพื้นที่กว่า 10 ปี